7/21/2553

โครงการดีๆชวนมาทำกัน


เป็นกิจกรรมง่ายๆที่จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกในอีกรูปแบบหนึ่ง...

1/13/2553

เสวนา: ตายหนึ่งเกิดแสน รำลึกรุ่นพี่นักอนุรักษ์ ‘พิทักษ์ โตนวุธ’ แกนนำค้านโรงโม่หินที่ถูกสังหาร

เสวนา: ตายหนึ่งเกิดแสน รำลึกรุ่นพี่นักอนุรักษ์ ‘พิทักษ์ โตนวุธ’ แกนนำค้านโรงโม่หินที่ถูกสังหาร
Tue, 2010-01-12 05:17


สืบเนื่องมาจากการเสียชีวิตของ นายพิทักษ์ โตนวุธ นักอนุรักษ์รุ่นพี่ที่เคยเป็นประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปีการศึกษา 2540 หลังจากจบการศึกษาก็เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู ตำบลชมภู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเรียกร้องให้เพิกถอนโรงโม่หินเขตพื้นที่ตำบลชมภู จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 จึงถูกลอบหลังหารในเขตพื้นที่ตำบลชมภูหลังจากเป็นแกนนำในการประท้วงโรงโม่หินและเป็นผู้นำในการขับไล่ผู้นำในท้องถิ่นคนหนึ่ง เพื่อไม่ให้อุดมการณ์ของพิทักษ์และนักอนุรักษ์คนอื่นๆสูญเปล่า ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกลุ่มนิเวศน์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดงาน “ตายหนึ่ง เกิดแสนสืบทอดอุดมการณ์อนุรักษ์” ขึ้นในระหว่างวันที่ 8-9 ม.ค.53 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนั้นยังจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภายในงานมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดย กลุ่มสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ, กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ่อนอก, และชาวบ้านขุนสมุทรจีน ช่วงกลางวัน มีวงแลกเปลี่ยนของนักศึกษาจากทั้ง 5 สถาบันเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคืนวันที่ 9 มีเวทีวัฒนธรรมโดยสมาชิกกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยรามคำแหง และพจนารถ พจนาพิทักษ์ นอกจากนั้นยังมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนจากนักอนุรักษ์จากพื้นที่ปัญหาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย นายพรพิพัฒน์ วัดอักษร คณะทำงานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก, นายแสงชัย รัตนเสรีวงศ์ ทนายความจากสภาทนายความ, นายธีระยุทธ ประมัยพิมพ์ ประธานกลุ่มนิเวศน์และผู้ประสานงานงานตายหนึ่งเกิดแสนสืบทอดอุดมการณ์อนุรักษ์, นายเชาว์ เย็นฉ่ำ เลขาธิการเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมภู ดำเนินรายการโดยนายสถาพร พงษ์พิพัฒน์วัฒนา อดีตคณะทำงานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยรามคำแหง

นายเชาว์ เย็นฉ่ำ กล่าวว่า นายพิทักษ์เข้าไปในพื้นที่ตำบลชมภูครั้งแรกเมื่อปี 2540 ตอนนั้นพิทักษ์เป็นนักศึกษาปริญญาโท พิทักษ์เริ่มต้นการทำงานโดยการให้ความรู้เรื่องสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพยากรในพื้นที่แก่ชาวบ้าน ชาวบ้านที่นั่นรักพิทักษ์เป็นอันมาก แม้การเริ่มต้นงานนั้นชาวบ้านจะสงสัยในตัวพิทักษ์ แต่หลังจากตรวจสอบและระยะเวลาที่พิทักษ์เข้ามาช่วยเหลือจึงทำให้เกิดความเชื่อใจซึ่งกันและกัน แม้จะมีหลายครั้งที่ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นส่งคนมาขู่หรือเจรจาเพื่อให้เลิกเรียกร้องแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งชาวบ้านและพิทักษ์ได้ เนื่องจากพิทักษ์นั้นมีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าสัญญาของโรงโม่หินเป็นเท็จ การเสียชีวิตของพิทักษ์นั้นทำให้คนในชุมชนหวั่นไหวเป็นอันมาก จนกระทั่งคนในชุมชนพูดคุยกันจึงมีมติว่าจะสู้ต่อไป

นายพรพิพัฒน์ วัดอักษร กล่าวว่า การทำงานของเจริญ วัดอักษร เข้ามาเป็นแกนนำในพื้นที่บ่อนอกเป็นรุ่นที่ 3 การทำงานของเขานั้นเริ่มต้นจากการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและเรียนรู้เพิ่มเติมจากข้อมูลของเอ็นจีโอที่เข้าไปทำงานในพื้นที่ วันนี้มีพี่น้องในชุมชนที่ไม่ใช่แค่ในพื้นที่บ่อนอกลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของตนเองเป็นจำนวนมาก และนอกจากนั้นการเสียชีวิตของนักอนุรักษ์หลายต่อหลายคนก็เป็นสิ่งย้ำเตือนให้พวกเขาต้องการสู้ต่อไปด้วย

นายแสงชัย รัตนเสรีวงศ์ กล่าวว่า จำนวนของผู้เสียชีวิตจากการลุกขึ้นมาปกป้องบ้านของตัวเองนั้นค่อนข้างสูง และพื้นที่ส่วนมากนั้นก็ล้วนแต่เป็นพื้นที่เล็กๆ บางครั้งก็เป็นเพียงการตัดไฟแต่ต้นลมของผู้ได้ผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมเหล่านั้น และคงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ได้รับผลประโยชน์เหล่านั้นจะเลิกทำร้ายประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ในขณะเดียวกันก็ทำให้กระบวนการต่อสู้ของชาวบ้านเข้มแข็งและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาระหว่างผู้บุกรุกกับชาวบ้านจะจบลงได้ก็ต่อเมื่อผู้บุกรุกเลิกหากินกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนเอง แต่การเปลี่ยนวิถีชีวิตนั้นจะส่งผลให้นายทุนเข้าไปแย่งชิงทรัพยากรกับคนในชุมชนได้มากขึ้น เมื่อคนในชุมนุมไม่ยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตแต่รัฐกลับไม่มองตรงจุดนี้ ดังนั้นหน้าที่ของคนในชุมนนคือการทำให้รัฐเปลี่ยนใจ นอกากนั้นการลงทุนกลายเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลเพราะนั่นคือการทำให้จีดีพีเติบโต

นายธีระยุทธ ประมัยพิมพ์ กล่าวว่าทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นของคนในชุมชนทุกคนที่รัฐบาลควรจะปล่อยให้การจัดการทรัพยากรนั้นเป็นของคนในชุมชน แต่พอคนในชุมชนเข้าไปปกป้องทรัพยากรเหล่านั้นกลับถูกคุกคาม เนื่องจากในตัวกฎหมายเองก็มีช่องว่างให้นายทุนใช้ตรงนั้นได้ การจัดงานนี้ขึ้นมาส่วนหนึ่งก็เพื่อสืบทอดอุดมการณ์ของนักอนุรักษ์ที่เสียชีวิต และเพื่อสร้างเครือข่ายของนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ขึ้นมาทำงาน เพื่อต่อสู้เรียกร้องกับพี่น้องประชาชนด้วย

ขอบคุณ ประชาไท http://www.prachatai.com/node/27294/talk

1/12/2553

ค่ายรักษ์เชียงดาว...กำลังมาถึง

..การทำงานกับชุมนุมถึงวันนี้ก็ผ่านเลยมาจะเป็นปีแล้วน๊า..เริ่มจากคนไม่กี่คนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากกิจกรรมที่ขยันจัดให้...มีน้องๆที่สนใจก็เข้ามาช่วยกันจัดกิจกรรมค่ายต่อๆมา...จนเป็นที่แปลกใจกันขนานใหญ่ทีเดียวว่า เอ๊ะ!! ทำไมค่ายของอนุรักษ์แต่ละค่ายถึงมีคนอยากไปร่วมกันเยอะเสียทุกค่ายเลย เริ่มตั้งแต่ค่ายปลูกพืชอาหารให้ช้าง ถึงแม้เราจะไม่ประชาสัมพันธ์อะไรกันมากมายก็ยังมีเพื่อนๆนักศึกษาสนใจมาสมัครแป๊บเดียวก็เต็มจำนวนที่รับได้
.....มาถึงค่ายปลูกปะการังนี่ก็เป็นปัญหาเลย...จำนวนที่รับได้แค่ 40 คนแต่มีคนมาสมัครปาเข้าไปถึง 80 คนเลยต้องใช้การคัดสรรตั้งหลากหลายวิธีสุดท้าย ทั้งฟ้าและฝนก็เป็นใจ ดันตกวันที่นัดสัมฯพอดีซึ่งเราก็ตกลงว่าใครไม่มาสัมฯตามเวลาจะถือว่าสละสิทธิ์ไม่ไปแล้วนะ พอถึงเวลาฝนก็ตก...คนก็มาพอดีเลย...เกินไปก็นิดเดียวคนจัดก็โล่งใจกันไปยกใหญ่
.....พอมาถึงค่ายใหญ่ที่เชียงดาว..ถ้าพูดถึงคนที่สนใจแน่นอนมากมาย รับ 30 มาสมัครปาไป 80 คน แต่พอผ่านถึงวันสัมฯค่ายต้องสัมฯตั้งหลายรอบและส่ง sms ตามก็ตั้งหลายคน ไปบ้างไม่ไปบ้าง บางคนมาสัมฯแล้วก็ขอยกเลิกไม่ไป...จนในที่สุดทุกคนที่ได้ลงชื่อไว้ตอนรับสมัครถูกเรียกให้มาสัมฯกันพร้อมหน้า....
....ค่ายนี้หรือที่ตั้งชื่อกันว่าค่ายรักษ์เชียงดาว จัดขึ้นที่ บ้านขุนห้วยไส้ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เราตั้งใจว่าจะไปทำอะไรกันตั้งหลายอย่าง ตั้งแต่ สร้าง ฝาย ทำแนวกันไฟ ช่วยชาวบ้านจัดการขยะในชุมชน โดยกำหนดวันเป็น ช่วงปิดกีฬามหาวิทยาลัย .....ค่ายนี้มีการวางแผนกันมาตลอด หลายคนมีความตั้งใจแต่น้องๆหลายที่เพิ่งเป็นมือใหม่ในการทำค่ายก็มาเรียนรู้เอาพร้อมการทำงานจริงนี้แหละ
...อย่างที่บอกชุมนุมเริ่มมาตั้งแต่คนมีแค่ 2 คน กระทั่งชวนเพื่อนๆน้องๆมาทำเป็น 7 คน และจนทุกวันนี้ก็มีหลากหลายคนขึ้นความหลากหลาย ย่อมมาพร้อมความคิดเห็นที่แตกต่าง ในการทำทำงานย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะต้องพบต้องเจอก็เป็นเรื่องธรรมดานะ...คงต้องบอกกับทุกคนที่ช่วยกันทำงานมาโดยตลอดว่า สู้ๆและช่วยกันทำงานให้มาก อย่าปล่อยให้เพื่อนเพียงคนเดียวต้องแบกรับภาระหรือทำงานอะไรมากมาย..ซึ่งผลย่อมเกิดแก่เราด้วยว่าท้ายที่สุดเราก็จะทำงานไม่เป็น...เต็มที่ๆทุกคน วันค่ายใกล้เข้ามาแล้ว คนไปร่วมค่ายก็กำลังจะครบแล้วหลังวันนี้(วันสัมฯรอบสุดท้าย)
....แล้วเราก็จะช่วยกันให้สำเร็จไปให้ได้...เป็นกำลังใจให้ทุกคน

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย
ขอขอบคุณ Volunteerspirit.org