11/18/2552

ค่ายปลูกปะการังฯ วันที่ 21-22 พ.ย.2552

ก็ใกล้ถึงอีกหนึ่งค่ายแล้ว ค่ายปลูกปะการังและกิจกรรมอื่นๆ
เพื่อนๆน้องๆที่ได้สิทธิ์และมีโอกาสไปค่ายนี้ด้วยกันแล้ว หลังจากเข้าร่วมสัมมนาค่ายเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่แล้ว-
ก็ตระเตรียมตัว เครื่องนอน อาบน้ำ เครื่องป้องกันตัวเอง และหัวใจที่มุ่งมั่นที่ร่วมกันไปทำอะไรดีๆเพื่อช่วยกันรักษ์โลกกันเลย
แล้วมาเจอกันวันเสาร์ ที่หน้าตึกกิจกรรม รังสิต เวลา 05.30 น.นะครับ..........
สอบถามเพิ่มเติมที่ พีใหม่-083-5558780 นะ
กำหนดการกิจกรรม**
วันเสาร์ ที่ 21 พ.ย. 52
06.00 เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
08.00 ถึง อบจ.ชลบุรี เพื่อทำการปลูกป่าชายเลน
10.00 ออกเดินทางไปสัตหีบ
11.30 ถึงที่พัก ณ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (เพื่อเตรียมที่พัก)
12.30 ถึงหาดเตยงาม พิธีเปิดกิจกรรปลูกปะการัง
13.00 ลงมือปลูกปะการัง
14.30 ลงฐานกิจกรรมต่างๆซึ่งจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่ง จะมี 3 ฐานใหญ่ๆ คือ
• พายเรือคยัค
• สอนดำน้ำตื้นและนั่งเรือกระจกชมปะการัง
• นั่งรถรางชมความสวยงามของหาด
17.30 สรุปกิจกรรม
18.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย และอาบน้ำ
18.30 เดินทางกลับที่พัก
19.00 รับประทานอาหาร
20.00 ทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน
22.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย และเข้านอน
วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ย.52
06.30 ตื่นนอน
07.00 กิจกรรมสัมผัสทะเลยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้น + ทำความสะอาดชายหาด(ทำความดีกัน)
08.30 รับประทานอาหารเช้า
09.30 ฟังบรรยายพร้อมชมนิทรรศการในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลและทำความสะอาดบ่อเต่า
11.30 กลับที่พักและเก็บของพร้อมรับประทานอาหารเที่ยง
13.30 เดินทางไปถึงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เกาะและทะเลไทย
15.30 เดินทางกลับและแวะซื้อของฝากระหว่างทาง
19.00 ถึงมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์
**กำหนดการและรายละเอียดงานบางส่วนอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมแห่งเวลากาล และยืนหยุ่นตามความเป็นไปแห่งธรรมชาติ

11/07/2552

ช่าวสารสิ่งแวดล้อม

ผู้ว่าอุดรฯ รับหลักการกลุ่มอนุรักษ์ เสนอทำยุทธศาสตร์โปแตช ระดับจังหวัด

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 52 เวลาประมาณ 13.30 น.ที่ห้องประชุมคำชะโนด ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 20 คน ได้เดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เพื่อหารือแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี และผลักดันข้อเสนอให้เกิดการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตช (SEA) ระดับจังหวัดอุดรธานี

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก การประชุมหารือร่วมกันทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อสรุปได้แก่ ข้อเสนอให้ยุติบทบาทคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาและให้ความรู้ ความเข้าใจ กรณีการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และข้อเสนอให้มีการตั้งคณะทำงาน 1 ชุดเพื่อทำการศึกษาการจัดการแร่โปแตชในระดับจังหวัดอุดรธานีอย่างรอบด้านทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม

ในการนี้ที่ประชุมได้มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัด,อุตสาหกรรมจังหวัด, ปลัดจังหวัด , ผู้แทนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี และผู้แทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในห้องประชุม ผู้ว่าฯ กับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง โดยในเริ่มแรกผู้ว่าฯ มีท่าทีไม่เห็นด้วยนัก กับการทำการศึกษา SEA ในระดับจังหวัด โดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกมารองรับการทำ SEA ดังกล่าว จึงเกรงว่าหากทำการศึกษาออกมาแล้วจะไม่เกิดประโยชน์ แต่ฝ่ายชาวบ้านก็ผลัดกันชี้แจง อธิบายเหตุผลเพื่อให้เห็นความสำคัญของการทำ SEA ระดับจังหวัด จนทำให้ผู้ว่าฯ รับหลักการพร้อมจะเสนอกับคณะกรรมการชุดที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมพร ใช้บางยาง) เป็นประธานเพื่อพิจารณาต่อไป

โดยนางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า การศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตช ระดับจังหวัดเป็นโอกาสที่คนอุดรฯ จะได้ศึกษา เรียนรู้ร่วมกัน พร้อมสร้างชุดข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโปแตช อย่างรอบด้านทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม และสามารถนำไปชี้แจงให้แก่คนอุดรฯ ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยการศึกษา SEA ระดับจังหวัดก็จะต้องมีความสอดคล้องกันกับการศึกษา SEA ระดับชาติที่ทำการศึกษาในภาพรวมทั้งหมด

“การศึกษา SEA แร่โปแตชในจังหวัดอุดรฯ จะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเองก็เชื่อว่าผู้ว่าฯ อำนาจ (นายอำนาจ ผการัตน์) เป็นพ่อเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลคงจะสร้างโอกาสให้คนอุดรฯ โดยการผลักดันให้เกิดการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตชระดับจังหวัด และจะเกิดประโยชน์แก่คนอุดรฯ อย่างแน่นอน” นางมณีกล่าว

ด้านนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ว่าฯได้คุยกับตัวแทนกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตชระดับประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน (คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี) แล้ว ก็มีความเห็นว่าการทำ SEA เป็นเรื่องที่สมควร และเหมาะสมที่จะต้องทำอยู่แล้ว แต่การที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ มายื่นข้อเสนอให้ทำ SEA ระดับจังหวัดนั้น ผู้ว่าฯ เองก็ยังไม่มีความชัดเจนในจุดนี้ แต่อย่างไรก็ดีก็พร้อมที่จะนำเสนอ กับคณะกรรมการชุดใหญ่ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยขอให้กลุ่มอนุรักษ์ฯ ทำเป็นเอกสารในประเด็น กรอบการศึกษา งบประมาณ และคณะทำงานเสนอมาด้วยในการประชุมคราวต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันสถานการณ์กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช กำลังมีการหารือเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา SEA แร่โปแตช ระดับชาติ ซึ่งคณะกรรมการเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)ที่มี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้ง อีกด้านหนึ่ง คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมพร ใช้บางยาง) เป็นประธาน ก็ได้เห็นชอบในการทำการศึกษา SEA แร่โปแตช เช่นเดียวกัน

ขอบคุณ :ประชาไท

ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26482

11/05/2552

เปิดเทอมอีกแล้ว

เริ่มทำงานกันอีกแล้วนะพวกเรา สู้...

กิจกรรมต่างๆของ ชุมนุมต่อไปนี้
...21-21 พ.ย. 2552 นี้ เราจะไป ปลูกปะการัง ศึกษาระบบนิเวศชายทะเล และช่วยกันทำความสะอาดบ่อเต่ากัน ...คนที่สนใจติดต่อสมัครได้นะครับ ที่ cctu09@gmail.com

...ตลอดเทอมนี้ 2/2552 เราจะมีโครงการลงพื้นที่ ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม และวิธีการดูแลสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเลย.. ใครสนใจสมัครที่ที่เดียวกัน หรือ สอบถามรายละเอียดที่ 083-5558780 ได้เลย

...เดือน มกราคม 2553 เราจะมีค่ายใหญ่ ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไปร่วมกันสร้างฝาย ทำแนวกันไฟ จัดการขยะชุมชน และศึกษากันรักษาป่าของชุมชน ..ในวันที่ 21-31 มกราคม 2553 ...สนใจสอบถามรายละเอียดได้เลย รับจำนวนจำกัดนะครับ..

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย
ขอขอบคุณ Volunteerspirit.org