7/10/2552

สานต่อ"จอมป่า"

สานต่อ"จอมป่า"

คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย ภาคภูมิ ป้องภัย

มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร กำลังสาละวนอยู่กับการเขียนรายงานเพื่อขอทุนสนับสนุนโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม (Joint Management of Protected Areas) ในผืนป่าตะวันตก เนื่องจากเงินทุนของรัฐบาลเดนมาร์ก (Danida) จะหมดลงในปลายปีนี้ และไม่ต่อสัญญาให้

JOMPA หรือ "จอมป่า" สรุปสั้นๆ คือ โครงการสนับสนุนให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อการบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการรักษาป่าไม้ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ที่ไม่ขัดระเบียบและกฎหมาย

แน่นอนครับ บางโครงการจำเป็นต้องมีประจักษ์พยานสนับสนุนเหตุผลในการขอทุนเพื่อสานความต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าเป้าหมายสัมฤทธิผลจึงจะถอนตัวออกมา

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีโอกาสไปร่วมสังเกตการณ์โครงการจอมป่าเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในฐานะ "คนกลาง" ตลอด 3 วัน 2 คืน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก

เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน 7 หมู่บ้านในป่า กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เห็นความตั้งใจช่วยกันปฏิบัติตามข้อตกลงไม่รุกป่า ไม่จับกุม อยู่อย่างเคารพซึ่งกันและกันแล้ว พูดได้คำเดียวครับว่า เสียดายมากหากมูลนิธิสืบฯไม่สามารถหาทุนมาสานต่อโครงการนี้

จอมป่าในทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออกดำเนินไปได้ดีครับ นั่นเป็นเพราะคุณสมปอง ทองสีเข้ม หัวหน้าเขตฝั่งตะวันออก เห็นความสำคัญของโครงการและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในขณะที่บางพื้นที่อาจไม่แล่นฉิวเหมือนที่นี่ เนื่องจากหัวหน้าเขตบางคนยังเห็นต่างอยู่บ้าง บางเขตถนัดบู๊มากกว่าบุ๋น ถนัดจับกุมมากกว่าจับเข่าพูดคุย และบางเขตเพิ่งเปลี่ยนคนใหม่

เมื่อยังไม่บรรลุเป้าหมายในทุกพื้นที่ ผมขอเป็นอีกแรงเรียกร้องให้ภาครัฐและภาคเอกชนช่วยสนับสนุนทุนให้มูลนิธิสืบฯ ได้สานต่อโครงการออกไปอีกระยะหนึ่ง

รู้กันดีว่า "คน" ไม่ใช่ "เครื่องจักร" ที่กดปุ่มป้อนข้อมูลลงไปแล้วผลิตงานได้ทันที มันต้องใช้เวลา ใช้ศิลปะ ใช้ทั้งความอดทนในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หลังจากได้ข้อตกลงร่วมกันแล้ว ยังต้องกำกับดูแลให้เป็นไปตามคำมั่นสัญญาอีกด้วย

ประการต่อมา โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งเงินเดือนผู้ปฏิบัติงานภาคสนามรอบผืนป่าทิศตะวันตก เงินเดือนลูกจ้างชั่วคราว เงินทุนส่งเสริมอาชีพและการดำรงชีวิตของชาวบ้านให้อยู่ได้ตลอดปีโดยไม่ล่วงเกินพื้นที่ป่าตามข้อตกลง ซึ่งส่วนหลังนี้ไม่สามารถพึ่งพาส่วนราชการได้

ระหว่างนั่งคุยกับศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ บนท้ายรถปิคอัพโฟร์วีลกลางป่าทุ่งใหญ่ ศศินเล่าว่า มูลนิธิเตรียมเสนอขอทุนสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และบริษัทใหญ่อีก 1-2 แห่ง ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการสนับสนุนหรือไม่ แค่ไหน

ผมเสนอให้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลบ้างก็ดี โดยเฉพาะลองติดต่อพูดคุยกับคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งคอเดียวกับองค์กรพัฒนาเอกชนอยู่แล้ว มีอะไรยิงตรงถึงผู้นำประเทศได้ทันที บางทีคุณหญิงอาจมีช่องทางช่วยประสานให้ได้

พูดก็พูดเถอะ รัฐบาลทุ่มเงินไปกับการพัฒนาเมืองหลวงไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ จะหาทางเจียดเงินไม่กี่ล้านบาทสนับสนุนอีกหนึ่งโครงการอนุรักษ์ป่าผืนใหญ่ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองฟ้าอมรกว่า 5.7 ล้านคน ไม่ได้เชียวหรือ

ลำพังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวกะเหรี่ยงเพียงหยิบมือคงไม่พอรักษาผืนป่าแห่งนี้ ถ้าไม่ได้การสนับสนุนทางอ้อมจากผู้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ในภาครัฐและภาคเอกชน


หน้า 8

จาก
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01280652&sectionid=0130&day=2009-06-28
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432 มติชนรายวัน

7/03/2552

ชุมนุมอนุรักษ์ฯ กับการเริ่มสร้างมั่นใหม่อีกครั้ง

บ่น

สวัสดีกับหลายๆคน ทั้งที่อาจเคยรู้จักหรือไม่รู้จักชุมนุมของเรา อนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จะว่าๆไปตั้งแต่ตัวผมเองเข้ามาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ก็สนใจทำกิจกรรมมาหลายแบบอย่าง แอบเฝ้ามองกิจกรรมในแนวทางอนุรักษ์อยู่เรือยมา แต่ด้วยอะไรที่อยากจะทำหลายๆอย่างเลยไม่ได้มาสนใจกับชุมนุมอนุรักษ์ที่มีอยู่เท่าที่ควร ผมได้ยินชื่อและรู้จัก ชุมนุมอนุรักษ์ฯมาตั้งแต่วันรับเพื่อนใหม่ตอนจะเข้าเรียนปีหนึ่ง แล้ว ได้เห็นการทำกิจกรรมเรื่อยมา เยอะแยะมากมาย แต่ก็ได้ยินมาเหมือนกันว่ามีคนอยู่ทำงานของชุมนุมลงน้อยถอนลงเสียทุกปีๆ แล้วเมื่อปีที่แล้ว (2551) ก็ได้รับรู้ว่าหลือพี่ผู้หญิงสองคนที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้ชุมนุมอยู่รอดมาได้ตั้งหลายปี น่าเห็นใจมากๆ เมื่อได้คุยกับพี่เขาแล้ว ก็เลยตั้งใจว่า เอาล่ะ !! เป็นไงเป็นกันปีหน้าจะมาช่วย สานต่อความตั้งใจของพี่ๆและทำกิจกรรมให้ชุมนุมอยู่รอด และกลับมามีบทบาท มีชีวิตชีวาอีกสักครั้ง อย่างน้อยก็ได้ช่วยให้มีคนมาทำต่อๆไป ก็ยังดี
เมื่อเริ่มปลีกตัวออกจากกิจกรรมบริหารอันน่าเบื่อหน่ายและทรมาน ก็เริ่มชวนน้องที่พอทำงานด้วยกันได้และคุยกันพอรู้เรื่อง ว่าง่ายๆคือทำงานเข้าขากันได้ มาช่วยกันสายต่อให้กิจกรรมแนวอนุรักษ์ฯยังคงอยู่ เมื่อเปิดเทอมเป็นต้นมา พวกเราก็เริ่มต้นกัน อาจยังไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยก็รับรู้จากใจของตัวผมเองว่า เต็มใจและมีความสุขไปกับสิ่งที่ได้พยายามทำ
ก่อนเสียอื่นใด ต้องกล่าวขอบใจน้องๆที่มาช่วยๆกัน โดยเฉพาะน้องชาย จาก อมธ. , เพื่อนๆ น้องสาวจากลานสรรค์ที่เรายังอยู่ด้วยกันเสมอ และน้องๆทุกคนที่จะอยู่ช่วยกันต่อไปอีก แม้ว่าเราทั้งหลายต่างก็มี
อะไรหลายอย่าง ส่วนตัวที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่เราก็มาช่วยกัน
ขอบคุณพี่ๆที่จบไปแต่ยังห่วงใยและค่อยช่วยอยู่เสมอในทุกเรื่องที่น้องๆยังโทรไปรบกวน....ขอบคุณมากมาย พร้อมให้คำมั่นว่าจะสานต่องานของชุมนุมและทำกิจกรรมอย่างเต็มใจ(แต่อาจไม่เต็มที่เพราะเรื่องเรียนๆและกิจกรรมอื่นๆของแต่ละคน) เท่าที่มีเวลาเหลืออยู่ในมหา'ลัยแห่งนี้

แล้วเมื่อคิดได้และมีเวลาก็เลยสร้างพื้นแห่งนี้ http://cctu09.blogspot.com ขึ้นเป็นของชุมนุมจะได้ใช้เพื่อกระจายแจงจ่ายข่าวสารและเป็นพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยนกันในทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อยก็หวังว่าจะเกิดประโยชน์ และมีคนมาใช้ด้วยกันให้มากขึ้นๆเรื่อยๆ ..............ขอให้สิ่งที่หวัง.............สมหวังอย่างตั้งใจ

.................................................................
เล่า

เรื่องเล่าจะพอได้รู้จักชุมนุมนี้มากขึ้น ก็ตั้งใจจะเอาไปเขียนในสมุดค่าย ค่ายแรกของปีและของทีมฟื้นฟู คือในค่าย ไปกาญฯที่กำลังจะถึงแล้ว แต่ด้วยจะต้องเข้าเล่มแล้ว ก็เลยจัดการไม่ทัน แต่ก็ไม่เป็นไรเอามาเล่าต่อที่นี่ก็คงไม่เสียหาย
พี่เล่าให้ฟังว่าก็นานมาแล้วที่ชุมนุมอนุรักษ์ฯของเราได้ตั้งขึ้นมา จะว่าไปก็ก่อนเหตุการณ์ ในปีพ.ศ.2519 เสียอีก กิจกรรมของชุมนุมก็อย่างที่บอกว่าเพื่อการอนุรักษ์ฯ แต่ด้วยความว่าเป็นธรรมศาสตร์แน่นอนว่า คงไม่อนุรักษ์ฯสีเขียวอย่างเดียว ต้อง บวกการเมืองเข้าไปด้วยอย่างแน่นอน การจัดกิจกรรมของชุมนุมก็มีเรื่อยตามยุคตามสมัยของแต่คนแต่ละรุ่นๆ ที่หมุนเวียนกันขึ้นมาทำ สมัยก่อนก็เป็นเด็กสายสังคมเพียงอย่างเดียวที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ที่ท่าพระจันทร์มันก็มีคณะแค่สายสังคม มากสุดก็ 8 คณะ แต่เมื่อเริ่มขยายการเรียนมาอยู่ รังสิตสถาน นักศึกษารุ่นพี่จากสายวิทย์ก็เริ่มเข้ามาทำกิจกรรมในสายอนุรักษ์ฯกันเยอะมากขึ้น จนมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ชุมนุมเรามีการเกิดทำเนียมที่เด็กคณะวิทย์จะต้องเข้ามาทำในชุมนุมอนุรักษ์ฯหากแต่ไม่นานนักกลับเป็นนักศึกษารุ่นพี่จากคณะ วารสารฯและนิติเข้ามาทำกันเป็นส่วนใหญ่อย่างประปราย มีหยุดหายไปบ้างก็มี มีทำปีเว้นปี ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละช่วงเวลาไหนมีคนสนใจทำงานอนุรักษ์กันแค่ไหน มีเรื่องเล่าขำๆว่าในช่วงระยะหลังที่ผ่านมา สมาขิกอยู่ชุมนุมจะมีแต่ผู้หญิงกันเสียส่วนใหญ่ ถ้าจะมีชายโผล่มาสักคนก็ถูกจับจองเป็นคู่กันซะหลายคน .....หลายช่วงเวลา ที่เลยล่วงผ่านมา กิจกรรมที่เกิดขึ้น ความผูกพันของเพื่อนทำกิจกรรม การส่งต่อรูปแบบ วิธีการ ของชุมนุมอนุรักษ์ก็สืบผ่านและตกทอดมา หล่นหาย หลงเหลือ หรือเก็บเป็นความทรงจำแต่ละรุ่น ก็ล้วนแล้วเกิดชึ้นใน ณ ที่แห่งนี้ ณ ชุมนุมอนุรักษ์ฯ
รูปแบบกิจกรรมก็หลากหลาย อาจจะบอกว่าแล้วแต่ละช่วงเวลา ตวามสนใจ และสถานการณ์ ทำกันเองเรียนรู้ศึกษาสิ่งแวดล้อม จัดค่ายกับเด็กมัธยมก็มี ลงศึกษาผลกระทบจากปัญหา การพัฒนาของรัฐที่มีต่อประชาชนก็มี สร้างเครือข่ายเรียกร้องและเป็นปากเสียงในสังคม ร่วมกับ ชมรมอนุรักษ์ฯ มหา'ลัยอื่นๆก็มีอยู่เป็นช่วงเวลาหนึ่งเลยก็มี ออกค่ายปลูกป่า เดินศึกษาป่า ศึกษาธรรมชาติ โดยไม่ยุ่งการเมืองเลยก็มี และกิจกรรมรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย ตลอดระยะเวลากว่า3 ทศตวรรษที่ผ่านมาของชุมนุม ......และวันนี้วันที่เรามาอยู่มาเป็นคณะทำงานเช่นกันเราก็ใส่ สิ่งที่เราอยากทำ ความสนใจที่เราต้องการทำลงไปกับกิจกรรมที่กำลังจะเกิดในยุคของเรา และแน่นอนเราก็คงคาดหวังความต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากสิ่งที่เราจะสานต่อ และส่งต่อ เพื่อให้แนวทางกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ยังคงเหลืออยู่กับนักศึกษาต่อๆไป แม้บางช่วยเวลาที่ยาวนาน มันจะเป็นเพียงแค่กิจกรรมกระแสรองก็ตามที...........

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย
ขอขอบคุณ Volunteerspirit.org