11/18/2552

ค่ายปลูกปะการังฯ วันที่ 21-22 พ.ย.2552

ก็ใกล้ถึงอีกหนึ่งค่ายแล้ว ค่ายปลูกปะการังและกิจกรรมอื่นๆ
เพื่อนๆน้องๆที่ได้สิทธิ์และมีโอกาสไปค่ายนี้ด้วยกันแล้ว หลังจากเข้าร่วมสัมมนาค่ายเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่แล้ว-
ก็ตระเตรียมตัว เครื่องนอน อาบน้ำ เครื่องป้องกันตัวเอง และหัวใจที่มุ่งมั่นที่ร่วมกันไปทำอะไรดีๆเพื่อช่วยกันรักษ์โลกกันเลย
แล้วมาเจอกันวันเสาร์ ที่หน้าตึกกิจกรรม รังสิต เวลา 05.30 น.นะครับ..........
สอบถามเพิ่มเติมที่ พีใหม่-083-5558780 นะ
กำหนดการกิจกรรม**
วันเสาร์ ที่ 21 พ.ย. 52
06.00 เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
08.00 ถึง อบจ.ชลบุรี เพื่อทำการปลูกป่าชายเลน
10.00 ออกเดินทางไปสัตหีบ
11.30 ถึงที่พัก ณ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (เพื่อเตรียมที่พัก)
12.30 ถึงหาดเตยงาม พิธีเปิดกิจกรรปลูกปะการัง
13.00 ลงมือปลูกปะการัง
14.30 ลงฐานกิจกรรมต่างๆซึ่งจะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่ง จะมี 3 ฐานใหญ่ๆ คือ
• พายเรือคยัค
• สอนดำน้ำตื้นและนั่งเรือกระจกชมปะการัง
• นั่งรถรางชมความสวยงามของหาด
17.30 สรุปกิจกรรม
18.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย และอาบน้ำ
18.30 เดินทางกลับที่พัก
19.00 รับประทานอาหาร
20.00 ทำกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน
22.00 พักผ่อนตามอัธยาศัย และเข้านอน
วันอาทิตย์ที่ 22 พ.ย.52
06.30 ตื่นนอน
07.00 กิจกรรมสัมผัสทะเลยามเช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้น + ทำความสะอาดชายหาด(ทำความดีกัน)
08.30 รับประทานอาหารเช้า
09.30 ฟังบรรยายพร้อมชมนิทรรศการในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลและทำความสะอาดบ่อเต่า
11.30 กลับที่พักและเก็บของพร้อมรับประทานอาหารเที่ยง
13.30 เดินทางไปถึงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เกาะและทะเลไทย
15.30 เดินทางกลับและแวะซื้อของฝากระหว่างทาง
19.00 ถึงมหาวิยาลัยธรรมศาสตร์
**กำหนดการและรายละเอียดงานบางส่วนอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมแห่งเวลากาล และยืนหยุ่นตามความเป็นไปแห่งธรรมชาติ

11/07/2552

ช่าวสารสิ่งแวดล้อม

ผู้ว่าอุดรฯ รับหลักการกลุ่มอนุรักษ์ เสนอทำยุทธศาสตร์โปแตช ระดับจังหวัด

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 52 เวลาประมาณ 13.30 น.ที่ห้องประชุมคำชะโนด ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 20 คน ได้เดินทางเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เพื่อหารือแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี และผลักดันข้อเสนอให้เกิดการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตช (SEA) ระดับจังหวัดอุดรธานี

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก การประชุมหารือร่วมกันทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อสรุปได้แก่ ข้อเสนอให้ยุติบทบาทคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาและให้ความรู้ ความเข้าใจ กรณีการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และข้อเสนอให้มีการตั้งคณะทำงาน 1 ชุดเพื่อทำการศึกษาการจัดการแร่โปแตชในระดับจังหวัดอุดรธานีอย่างรอบด้านทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม

ในการนี้ที่ประชุมได้มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย อาทิ รองผู้ว่าราชการจังหวัด,อุตสาหกรรมจังหวัด, ปลัดจังหวัด , ผู้แทนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี และผู้แทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในห้องประชุม ผู้ว่าฯ กับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง โดยในเริ่มแรกผู้ว่าฯ มีท่าทีไม่เห็นด้วยนัก กับการทำการศึกษา SEA ในระดับจังหวัด โดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับที่ออกมารองรับการทำ SEA ดังกล่าว จึงเกรงว่าหากทำการศึกษาออกมาแล้วจะไม่เกิดประโยชน์ แต่ฝ่ายชาวบ้านก็ผลัดกันชี้แจง อธิบายเหตุผลเพื่อให้เห็นความสำคัญของการทำ SEA ระดับจังหวัด จนทำให้ผู้ว่าฯ รับหลักการพร้อมจะเสนอกับคณะกรรมการชุดที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมพร ใช้บางยาง) เป็นประธานเพื่อพิจารณาต่อไป

โดยนางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า การศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตช ระดับจังหวัดเป็นโอกาสที่คนอุดรฯ จะได้ศึกษา เรียนรู้ร่วมกัน พร้อมสร้างชุดข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโปแตช อย่างรอบด้านทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม และสามารถนำไปชี้แจงให้แก่คนอุดรฯ ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยการศึกษา SEA ระดับจังหวัดก็จะต้องมีความสอดคล้องกันกับการศึกษา SEA ระดับชาติที่ทำการศึกษาในภาพรวมทั้งหมด

“การศึกษา SEA แร่โปแตชในจังหวัดอุดรฯ จะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเองก็เชื่อว่าผู้ว่าฯ อำนาจ (นายอำนาจ ผการัตน์) เป็นพ่อเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลคงจะสร้างโอกาสให้คนอุดรฯ โดยการผลักดันให้เกิดการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตชระดับจังหวัด และจะเกิดประโยชน์แก่คนอุดรฯ อย่างแน่นอน” นางมณีกล่าว

ด้านนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า หลังจากที่ผู้ว่าฯได้คุยกับตัวแทนกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษายุทธศาสตร์เหมืองแร่โปแตชระดับประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการที่มีรองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน (คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี) แล้ว ก็มีความเห็นว่าการทำ SEA เป็นเรื่องที่สมควร และเหมาะสมที่จะต้องทำอยู่แล้ว แต่การที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ มายื่นข้อเสนอให้ทำ SEA ระดับจังหวัดนั้น ผู้ว่าฯ เองก็ยังไม่มีความชัดเจนในจุดนี้ แต่อย่างไรก็ดีก็พร้อมที่จะนำเสนอ กับคณะกรรมการชุดใหญ่ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยขอให้กลุ่มอนุรักษ์ฯ ทำเป็นเอกสารในประเด็น กรอบการศึกษา งบประมาณ และคณะทำงานเสนอมาด้วยในการประชุมคราวต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันสถานการณ์กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช กำลังมีการหารือเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา SEA แร่โปแตช ระดับชาติ ซึ่งคณะกรรมการเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)ที่มี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้ง อีกด้านหนึ่ง คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายสมพร ใช้บางยาง) เป็นประธาน ก็ได้เห็นชอบในการทำการศึกษา SEA แร่โปแตช เช่นเดียวกัน

ขอบคุณ :ประชาไท

ที่มา : http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26482

11/05/2552

เปิดเทอมอีกแล้ว

เริ่มทำงานกันอีกแล้วนะพวกเรา สู้...

กิจกรรมต่างๆของ ชุมนุมต่อไปนี้
...21-21 พ.ย. 2552 นี้ เราจะไป ปลูกปะการัง ศึกษาระบบนิเวศชายทะเล และช่วยกันทำความสะอาดบ่อเต่ากัน ...คนที่สนใจติดต่อสมัครได้นะครับ ที่ cctu09@gmail.com

...ตลอดเทอมนี้ 2/2552 เราจะมีโครงการลงพื้นที่ ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม และวิธีการดูแลสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศเลย.. ใครสนใจสมัครที่ที่เดียวกัน หรือ สอบถามรายละเอียดที่ 083-5558780 ได้เลย

...เดือน มกราคม 2553 เราจะมีค่ายใหญ่ ที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ไปร่วมกันสร้างฝาย ทำแนวกันไฟ จัดการขยะชุมชน และศึกษากันรักษาป่าของชุมชน ..ในวันที่ 21-31 มกราคม 2553 ...สนใจสอบถามรายละเอียดได้เลย รับจำนวนจำกัดนะครับ..

8/26/2552

หนึ่งเปรี้ยง! ปืนลั่นสะท้านป่า
หนึ่งวูบไหวผวา .. ทั้งป่าลั่น
หนึ่งคืน ... นานยาวราวกัปกัลป์
หนึ่งฝันฟุบแล้วลับแนวไพร
หนึ่งคน ควรค่าคารวะ
สืบสร้างสัจจะ ยิ่งใหญ่
หมื่นคำร่ำหาอาลัย
รวมใจสืบทอดเจตนา


จีรนันท์ พิตรปรีชา3 กันยายน 2533

8/14/2552

ตารางกิจกรรม

ตารางกิจกรรมวันสัมมนาชุมนุมอรุกรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม

วันที่ 22-24 สิงหาคม 2552 ที่ จ. สมุทรสงคราม

วันเวลาปฏิบัติงาน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม

หน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

สถานที่จัด

22 สิงหาคม 2552

17.00 น.

ออกเดินทางจาก มธ.ศูนย์รังสิต

ผู้ประสานงานเรื่องรถ

หน้าตึกกิจกรรมนักศึกษา

20.00 น.

ชมหิ่งห้อยและพูดคุยทำความรู้จัก

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านหิ่งห้อย จ.สมุทรสงคราม

21.30 น.

ออกเดินทางเข้าที่พัก

ทุกคนที่ไปค่าย

รถ , บ้านน้อยคอยรัก อ. บางคนที

23.30 น.

-คุยรอบแรก

- นำเสนอโครงการ

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยค่อยรัก อ. บางคนที

24.00 น.

เข้านอน

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ. บางคนที

23 สิงหาคม 2552

05.30 น.

ตื่นนอน ใส่บาตรริมคลอง

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ. บางคนที

06.00 น.

อาบน้ำเตรียมตัว

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ. บางคนที

07.00 น.

รับประทานอาหารเช้า

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ. บางคนที

08.30 น.

เดินทางสู่ คลองโคลน

ทุกคนที่ไปค่าย ,ชาวบ้านคลองโคลน

รถ , บ้านคลองโคลน อ.เมือง

จ.สมุทรสงคราม

09.00 น.

กิจกรรมปลูกป่าชายเลน

ทุกคนที่ไปค่าย ,ชาวบ้านคลองโคลน

บ้านคลองโคลน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

10.30 น.

- ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน เรียนรู้ชุมชนกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน

- นั่งเรือ ปากอ่าวดูอาชีพชาวบ้าน

เลี้ยงหอยแครง แมลงภู่

ทุกคนที่ไปค่าย ,ชาวบ้านคลองโคลน

บ้านคลองโคลน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

12.00 น.

ทำความสะอาดร่างกาย และเดินทางกลับที่พัก

ทุกคนที่ไปค่าย

รถ , บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

14.0 น.

คุยรอบที่ 2

- พิจารณาซื้อโครงการ

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

16.00 น.

พักผ่อน และรับประทานอาหารเย็น

เช่น เล่นน้ำคลอง เดินอัมพวา

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที , อ.อัมพวา

21.00 น.

อาบน้ำ

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

22.00 น.

คุยรอยสุดท้าย

- วางแผนงานประจำปีและความเข้าใจเบื้องต้นในการทำกิจกรรม

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

24.00 น.

เข้านอน

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

24 สิงหาคม 2552

05.30 น.

ตื่นนอน , เตรียมตัวเก็บของ

ทุกคนที่ไปค่าย

บ้านน้อยคอยรัก อ.บางคนที

06.00 น.-08.30 น.

เดินทางกลับ มธ.ศูนย์รังสิต

ทุกคนที่ไปค่าย

บนรถระหว่างเดินทาง

8/13/2552

กำหนดการ “รำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร












"กำหนดการ “รำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร”
กำหนดการ “รำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร”
วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552 – วันอังคารที่ 1 กันยายน 2552
ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552

09.00 น. – 11.00 น. เดินขบวนรณรงค์ รำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร ณ บริเวณตลาดสด อำเภอเมือง จ.อุทัยธานี
11.00 น. – 12.00 น. เดินทางกลับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
14.00 น. – 15.00 น. พิธีเปิดค่ายเรียนรู้สัตว์ป่า “ละอง ละมั่ง” ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
19.00 น. – 20.30 น. กิจกรรมเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ ฉายวีดีทัศน์ “ภารกิจการอนุรักษ์สัตว์ป่า”

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2552

07.00 น. – 08.00 น. ผู้เข้าร่วมงานรับประทานอาหารเช้า
08.00 น. – 09.00 น. ผู้เข้าร่วมงานพร้อมกันที่บริเวณอนุสรณ์สถาน สืบ นาคะเสถียร
09.00 น. – 10.00 น. พิธีรำลึก “รำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร”
- พิธีกรกล่าวถึงการจัดงาน
- พิธีกรอ่านชีวประวัติ สืบ นาคะเสถียร
- เชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ องค์กรต่างๆ และประชาชนทั่วไปร่วมวางหรีดรำลึก
- ผู้ร่วมงานยืนสงบนิ่งไว้อาลัย
10.00 น. – 10.30 น. ร่วมเป็นเกียรติมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ร่วมสืบทอดเจตนารมณ์
- ประธานในพิธีมอบป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ไม่ล่า ไม่ซื้อ ไม่ขาย ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ป่า ให้แก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครพิทักษ์สัตว์ป่ามอบชองที่ระลึกและแผ่น CD บันทึกภาพเดินขบวนรณรงค์
10.30น. – 12.00 น. เวทีเสวนา “เส้นทางเดินชีวิตสืบ เส้นทางเดินของการอนุรักษ์” โดยกลุ่มเพื่อนสืบ
12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 16.00 น.กิจกรรมเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- นิทรรศการการจัดการเพื่อการปกป้องเขตรักษาพันธุ์ป่าห้วยขาแข้ง
- อนุสรณ์สถาน พร้อมบรรยายข้อมูลหัวหน้า สืบ นาคะเสถียร
- กิจกรรมศึกษาธรรมชาตินก ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
- กิจกรรมระบายสีนก
- กิจกรรมนักสืบสายน้ำ
- เดินศึกษาธรรมชาติตามรอยเสือ
18.00 น. – 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00 น. – 20.30 น. กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- วีดีทัศน์ “ภารกิจการอนุรักษ์สัตว์ป่า”

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2552

08.30 น. – 12.00 น. กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- นิทรรศการการจัดการเพื่อการปกป้องเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
- อนุสรณ์สถาน พร้อมบรรยายข้อมูลหัวหน้า สืบ นาคะเสถียร
- กิจกรรมศึกษาธรรมชาตินก ในเขตรักษาพันธุสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
- กิจกรรมระบายสีนก
- กิจกรรมนักสืบสายน้ำ
- เดินศึกษาธรรมชาติตามรอยเสือ
10.00 น. – 11.30 น. เวทีเสวนา “อดีตสู่ปัจจุบันความเหมือนและความต่าง กรณีปัญหาภัยคุกคามในพื้นที่”
12.00 น. – 13.00 น. อาหารกลางวัน
13.030 น. – 14.30 น. ลงทะเบียน
14.00 น. – 15.00 น. นำเสนอ Power point นักอนุรักษ์ที่ได้รับรางวัล
14.45 น. ประธานในพิธีเดินทางมาถึง
15.00 น. ผู้ดำเนินรายการ (ดร. ธีรภัทร ประยูรสิทธิ) กล่าวถึงที่มาของการจัดงาน และเชิญประธานขึ้นมอบรางวัล
15.10 น. ประธานในพิธีมอบรางวัลนักอนุรักษ์ สืบนาคะเสถียร
- ประธานกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลนักอนุรักษ์สืบ นาคะเสถียร
15.20 น.นักอนุรักษ์กล่าวขอบคุณ
15.30 น. – 18.30 น. เวทีสาธารณะ “จับมือ ป้องป่า ขาแข้ง” ผู้ร่วมรายการ
1. รมต.ทส/ปลัดทส.
2. อ.รตยา จันทรเทียร : ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
3. ประธานคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก จ.อุทัยธานี
4. ผู้แทนเครือข่ายป่าชุมชน 30 ป่า รักษาทุกโรค
ดำเนินรายการโดย : นาตยา แวววีรคุปต์
19.00 น. ประธานในพิธีนำจุดเทียน ณ รูปปั้นสืบ นาคะเสถียร
20.00 น. บทเพลงใต้แสงจันทร์ โดย ตู่ ตะวันฉาย เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

วันอังคารที่ 1 กันยายน 2552

06.30 น. อาหารเช้า
07.30 น. – 08.30 น. พิธีสงฆ์ทำบุญ ตักบาตร


หมายเหตุ
-ผู้ที่สนใจร่วมงานรำลึก 19 ปี สืบ นาคะเสถียร ระหว่างวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2552 ติอต่อสอบถามเพิ่มเติมที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
-ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานวันที่ 31 สิงหาคม 2552 – วันที่ 1 กันยายน 2552 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

7/10/2552

สานต่อ"จอมป่า"

สานต่อ"จอมป่า"

คอลัมน์ เดินหน้าชน

โดย ภาคภูมิ ป้องภัย

มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร กำลังสาละวนอยู่กับการเขียนรายงานเพื่อขอทุนสนับสนุนโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม (Joint Management of Protected Areas) ในผืนป่าตะวันตก เนื่องจากเงินทุนของรัฐบาลเดนมาร์ก (Danida) จะหมดลงในปลายปีนี้ และไม่ต่อสัญญาให้

JOMPA หรือ "จอมป่า" สรุปสั้นๆ คือ โครงการสนับสนุนให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐพูดคุยทำความเข้าใจเพื่อการบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการรักษาป่าไม้ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ที่ไม่ขัดระเบียบและกฎหมาย

แน่นอนครับ บางโครงการจำเป็นต้องมีประจักษ์พยานสนับสนุนเหตุผลในการขอทุนเพื่อสานความต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าเป้าหมายสัมฤทธิผลจึงจะถอนตัวออกมา

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีโอกาสไปร่วมสังเกตการณ์โครงการจอมป่าเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในฐานะ "คนกลาง" ตลอด 3 วัน 2 คืน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออก

เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน 7 หมู่บ้านในป่า กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เห็นความตั้งใจช่วยกันปฏิบัติตามข้อตกลงไม่รุกป่า ไม่จับกุม อยู่อย่างเคารพซึ่งกันและกันแล้ว พูดได้คำเดียวครับว่า เสียดายมากหากมูลนิธิสืบฯไม่สามารถหาทุนมาสานต่อโครงการนี้

จอมป่าในทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันออกดำเนินไปได้ดีครับ นั่นเป็นเพราะคุณสมปอง ทองสีเข้ม หัวหน้าเขตฝั่งตะวันออก เห็นความสำคัญของโครงการและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในขณะที่บางพื้นที่อาจไม่แล่นฉิวเหมือนที่นี่ เนื่องจากหัวหน้าเขตบางคนยังเห็นต่างอยู่บ้าง บางเขตถนัดบู๊มากกว่าบุ๋น ถนัดจับกุมมากกว่าจับเข่าพูดคุย และบางเขตเพิ่งเปลี่ยนคนใหม่

เมื่อยังไม่บรรลุเป้าหมายในทุกพื้นที่ ผมขอเป็นอีกแรงเรียกร้องให้ภาครัฐและภาคเอกชนช่วยสนับสนุนทุนให้มูลนิธิสืบฯ ได้สานต่อโครงการออกไปอีกระยะหนึ่ง

รู้กันดีว่า "คน" ไม่ใช่ "เครื่องจักร" ที่กดปุ่มป้อนข้อมูลลงไปแล้วผลิตงานได้ทันที มันต้องใช้เวลา ใช้ศิลปะ ใช้ทั้งความอดทนในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หลังจากได้ข้อตกลงร่วมกันแล้ว ยังต้องกำกับดูแลให้เป็นไปตามคำมั่นสัญญาอีกด้วย

ประการต่อมา โครงการนี้มีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งเงินเดือนผู้ปฏิบัติงานภาคสนามรอบผืนป่าทิศตะวันตก เงินเดือนลูกจ้างชั่วคราว เงินทุนส่งเสริมอาชีพและการดำรงชีวิตของชาวบ้านให้อยู่ได้ตลอดปีโดยไม่ล่วงเกินพื้นที่ป่าตามข้อตกลง ซึ่งส่วนหลังนี้ไม่สามารถพึ่งพาส่วนราชการได้

ระหว่างนั่งคุยกับศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบฯ บนท้ายรถปิคอัพโฟร์วีลกลางป่าทุ่งใหญ่ ศศินเล่าว่า มูลนิธิเตรียมเสนอขอทุนสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และบริษัทใหญ่อีก 1-2 แห่ง ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการสนับสนุนหรือไม่ แค่ไหน

ผมเสนอให้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลบ้างก็ดี โดยเฉพาะลองติดต่อพูดคุยกับคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ซึ่งคอเดียวกับองค์กรพัฒนาเอกชนอยู่แล้ว มีอะไรยิงตรงถึงผู้นำประเทศได้ทันที บางทีคุณหญิงอาจมีช่องทางช่วยประสานให้ได้

พูดก็พูดเถอะ รัฐบาลทุ่มเงินไปกับการพัฒนาเมืองหลวงไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ จะหาทางเจียดเงินไม่กี่ล้านบาทสนับสนุนอีกหนึ่งโครงการอนุรักษ์ป่าผืนใหญ่ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองฟ้าอมรกว่า 5.7 ล้านคน ไม่ได้เชียวหรือ

ลำพังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และชาวกะเหรี่ยงเพียงหยิบมือคงไม่พอรักษาผืนป่าแห่งนี้ ถ้าไม่ได้การสนับสนุนทางอ้อมจากผู้เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ในภาครัฐและภาคเอกชน


หน้า 8

จาก
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01280652&sectionid=0130&day=2009-06-28
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432 มติชนรายวัน

7/03/2552

ชุมนุมอนุรักษ์ฯ กับการเริ่มสร้างมั่นใหม่อีกครั้ง

บ่น

สวัสดีกับหลายๆคน ทั้งที่อาจเคยรู้จักหรือไม่รู้จักชุมนุมของเรา อนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จะว่าๆไปตั้งแต่ตัวผมเองเข้ามาเรียนที่สถาบันแห่งนี้ก็สนใจทำกิจกรรมมาหลายแบบอย่าง แอบเฝ้ามองกิจกรรมในแนวทางอนุรักษ์อยู่เรือยมา แต่ด้วยอะไรที่อยากจะทำหลายๆอย่างเลยไม่ได้มาสนใจกับชุมนุมอนุรักษ์ที่มีอยู่เท่าที่ควร ผมได้ยินชื่อและรู้จัก ชุมนุมอนุรักษ์ฯมาตั้งแต่วันรับเพื่อนใหม่ตอนจะเข้าเรียนปีหนึ่ง แล้ว ได้เห็นการทำกิจกรรมเรื่อยมา เยอะแยะมากมาย แต่ก็ได้ยินมาเหมือนกันว่ามีคนอยู่ทำงานของชุมนุมลงน้อยถอนลงเสียทุกปีๆ แล้วเมื่อปีที่แล้ว (2551) ก็ได้รับรู้ว่าหลือพี่ผู้หญิงสองคนที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้ชุมนุมอยู่รอดมาได้ตั้งหลายปี น่าเห็นใจมากๆ เมื่อได้คุยกับพี่เขาแล้ว ก็เลยตั้งใจว่า เอาล่ะ !! เป็นไงเป็นกันปีหน้าจะมาช่วย สานต่อความตั้งใจของพี่ๆและทำกิจกรรมให้ชุมนุมอยู่รอด และกลับมามีบทบาท มีชีวิตชีวาอีกสักครั้ง อย่างน้อยก็ได้ช่วยให้มีคนมาทำต่อๆไป ก็ยังดี
เมื่อเริ่มปลีกตัวออกจากกิจกรรมบริหารอันน่าเบื่อหน่ายและทรมาน ก็เริ่มชวนน้องที่พอทำงานด้วยกันได้และคุยกันพอรู้เรื่อง ว่าง่ายๆคือทำงานเข้าขากันได้ มาช่วยกันสายต่อให้กิจกรรมแนวอนุรักษ์ฯยังคงอยู่ เมื่อเปิดเทอมเป็นต้นมา พวกเราก็เริ่มต้นกัน อาจยังไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยก็รับรู้จากใจของตัวผมเองว่า เต็มใจและมีความสุขไปกับสิ่งที่ได้พยายามทำ
ก่อนเสียอื่นใด ต้องกล่าวขอบใจน้องๆที่มาช่วยๆกัน โดยเฉพาะน้องชาย จาก อมธ. , เพื่อนๆ น้องสาวจากลานสรรค์ที่เรายังอยู่ด้วยกันเสมอ และน้องๆทุกคนที่จะอยู่ช่วยกันต่อไปอีก แม้ว่าเราทั้งหลายต่างก็มี
อะไรหลายอย่าง ส่วนตัวที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่เราก็มาช่วยกัน
ขอบคุณพี่ๆที่จบไปแต่ยังห่วงใยและค่อยช่วยอยู่เสมอในทุกเรื่องที่น้องๆยังโทรไปรบกวน....ขอบคุณมากมาย พร้อมให้คำมั่นว่าจะสานต่องานของชุมนุมและทำกิจกรรมอย่างเต็มใจ(แต่อาจไม่เต็มที่เพราะเรื่องเรียนๆและกิจกรรมอื่นๆของแต่ละคน) เท่าที่มีเวลาเหลืออยู่ในมหา'ลัยแห่งนี้

แล้วเมื่อคิดได้และมีเวลาก็เลยสร้างพื้นแห่งนี้ http://cctu09.blogspot.com ขึ้นเป็นของชุมนุมจะได้ใช้เพื่อกระจายแจงจ่ายข่าวสารและเป็นพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยนกันในทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างน้อยก็หวังว่าจะเกิดประโยชน์ และมีคนมาใช้ด้วยกันให้มากขึ้นๆเรื่อยๆ ..............ขอให้สิ่งที่หวัง.............สมหวังอย่างตั้งใจ

.................................................................
เล่า

เรื่องเล่าจะพอได้รู้จักชุมนุมนี้มากขึ้น ก็ตั้งใจจะเอาไปเขียนในสมุดค่าย ค่ายแรกของปีและของทีมฟื้นฟู คือในค่าย ไปกาญฯที่กำลังจะถึงแล้ว แต่ด้วยจะต้องเข้าเล่มแล้ว ก็เลยจัดการไม่ทัน แต่ก็ไม่เป็นไรเอามาเล่าต่อที่นี่ก็คงไม่เสียหาย
พี่เล่าให้ฟังว่าก็นานมาแล้วที่ชุมนุมอนุรักษ์ฯของเราได้ตั้งขึ้นมา จะว่าไปก็ก่อนเหตุการณ์ ในปีพ.ศ.2519 เสียอีก กิจกรรมของชุมนุมก็อย่างที่บอกว่าเพื่อการอนุรักษ์ฯ แต่ด้วยความว่าเป็นธรรมศาสตร์แน่นอนว่า คงไม่อนุรักษ์ฯสีเขียวอย่างเดียว ต้อง บวกการเมืองเข้าไปด้วยอย่างแน่นอน การจัดกิจกรรมของชุมนุมก็มีเรื่อยตามยุคตามสมัยของแต่คนแต่ละรุ่นๆ ที่หมุนเวียนกันขึ้นมาทำ สมัยก่อนก็เป็นเด็กสายสังคมเพียงอย่างเดียวที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ที่ท่าพระจันทร์มันก็มีคณะแค่สายสังคม มากสุดก็ 8 คณะ แต่เมื่อเริ่มขยายการเรียนมาอยู่ รังสิตสถาน นักศึกษารุ่นพี่จากสายวิทย์ก็เริ่มเข้ามาทำกิจกรรมในสายอนุรักษ์ฯกันเยอะมากขึ้น จนมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ชุมนุมเรามีการเกิดทำเนียมที่เด็กคณะวิทย์จะต้องเข้ามาทำในชุมนุมอนุรักษ์ฯหากแต่ไม่นานนักกลับเป็นนักศึกษารุ่นพี่จากคณะ วารสารฯและนิติเข้ามาทำกันเป็นส่วนใหญ่อย่างประปราย มีหยุดหายไปบ้างก็มี มีทำปีเว้นปี ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละช่วงเวลาไหนมีคนสนใจทำงานอนุรักษ์กันแค่ไหน มีเรื่องเล่าขำๆว่าในช่วงระยะหลังที่ผ่านมา สมาขิกอยู่ชุมนุมจะมีแต่ผู้หญิงกันเสียส่วนใหญ่ ถ้าจะมีชายโผล่มาสักคนก็ถูกจับจองเป็นคู่กันซะหลายคน .....หลายช่วงเวลา ที่เลยล่วงผ่านมา กิจกรรมที่เกิดขึ้น ความผูกพันของเพื่อนทำกิจกรรม การส่งต่อรูปแบบ วิธีการ ของชุมนุมอนุรักษ์ก็สืบผ่านและตกทอดมา หล่นหาย หลงเหลือ หรือเก็บเป็นความทรงจำแต่ละรุ่น ก็ล้วนแล้วเกิดชึ้นใน ณ ที่แห่งนี้ ณ ชุมนุมอนุรักษ์ฯ
รูปแบบกิจกรรมก็หลากหลาย อาจจะบอกว่าแล้วแต่ละช่วงเวลา ตวามสนใจ และสถานการณ์ ทำกันเองเรียนรู้ศึกษาสิ่งแวดล้อม จัดค่ายกับเด็กมัธยมก็มี ลงศึกษาผลกระทบจากปัญหา การพัฒนาของรัฐที่มีต่อประชาชนก็มี สร้างเครือข่ายเรียกร้องและเป็นปากเสียงในสังคม ร่วมกับ ชมรมอนุรักษ์ฯ มหา'ลัยอื่นๆก็มีอยู่เป็นช่วงเวลาหนึ่งเลยก็มี ออกค่ายปลูกป่า เดินศึกษาป่า ศึกษาธรรมชาติ โดยไม่ยุ่งการเมืองเลยก็มี และกิจกรรมรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย ตลอดระยะเวลากว่า3 ทศตวรรษที่ผ่านมาของชุมนุม ......และวันนี้วันที่เรามาอยู่มาเป็นคณะทำงานเช่นกันเราก็ใส่ สิ่งที่เราอยากทำ ความสนใจที่เราต้องการทำลงไปกับกิจกรรมที่กำลังจะเกิดในยุคของเรา และแน่นอนเราก็คงคาดหวังความต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากสิ่งที่เราจะสานต่อ และส่งต่อ เพื่อให้แนวทางกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ยังคงเหลืออยู่กับนักศึกษาต่อๆไป แม้บางช่วยเวลาที่ยาวนาน มันจะเป็นเพียงแค่กิจกรรมกระแสรองก็ตามที...........

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย

ข้อมูลพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย
ขอขอบคุณ Volunteerspirit.org